ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2534 ในหมวด 9 ว่าด้วย การเปลี่ยนโทษ และการใช้วิธีการ สำหรับเด็กและเยาวชน พอจะสรุปรายละเอียดได้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 104 มีสาระสำคัญคือ ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีความ ของเยาวชนและครอบครัว โดยมีอำนาจใช้วิธีการ สำหรับเด็ก และเยาวชน แทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการ เพื่อความปลอดภัยไว้ดังนี้
มาตรา 105 มีสาระสำคัญคือ การส่งเด็กและเยาวชน ไปยังสถานที่กักและอบรม หรือฝึกอบรม กิจกรรมพัฒนาเด็ก และเยาวชน ในสถานพินิจ หรือสถานที่ฝึกอบรม ที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 20 (2) ซึ่งศาลได้มีการกำหนด ระยะเวลา ขั้นต่ำ เอาไว้และ ระยะเวลาขั้นสูงเอาไว้ ศาลจะปล่อย ตัวเด็กหรือ เยาวชน ในระหว่าง ระยะเวลา ขั้นต่ำและขั้นสูง นั้นก็ย่อมจะทำได้ โดยในกรณีดังกล่าว ศาลจะกำหนด ตามมาตรา 100 ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีการกำหนด เงื่อนไข ให้นำมาตรา 100 วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา 101 มาบังคับโดยอนุโลมได้ และระยะเวลา ที่ทำการกัก อบรม หรือฝึกอบรมนั้น จะมีกำหนดเกิน 1 ปีก็ได้ แต่ต้องมี ระยะเวลา ไม่เกินกว่าระยะเวลาที่เหลืออยู่
มาตรา 106 มีสาระสำคัญคือ คดีอาญาที่ อยู่ในขอบเขต อำนาจของศาลเยาชน และครอบครัวนั้น ศาลมีอำนาจ ในการที่จะพิจารณา คดีเยาวชน และครอบครัว จะพิจารณา ให้รอการกำหนดโทษ หรือ การรอลงโทษเด็กหรือเยาวชน ตามประมวล กฎหมายอาญาก็ได้ แม้ว่า
มาตรา 107 มีสาระสำคัญคือ หากเด็กหรือเยาวชน ได้ถูกพิพากษาต้องโทษปรับ ไม่ว่าจะมีโทษ จำคุกด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าเด็กหรือเยาวชน ไม่มีเงินชำระค่าปรับ ห้ามมิให้ศาล ทำการสั่งกักขังเด็ก หรือเยาวชนแทนค่าปรับ แต่ให้ส่งตัวไปควบคุม เพื่อเป็นการฝึกอบรม กิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจ สถานฝึกอบรม สถานศึกษา หรือสถานแนะนำทางจิต ตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่า 1 ปี