เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
ในช่วงที่เด็กมีอายุ ระหว่าง แรกเกิด จนถึงอายุ 2 ปี จะเป็นช่วงที่สมองเด็กมีการเจริญเติบโต เกือบเทียบเท่าสมอง ของผู้ใหญ่ ดังนั้น หากมีการพัฒนา อย่างถูกต้อง ตามวัย จะส่งผลให้เด็ก มีการพัฒนาทางสมอง ที่ก้าวหน้า รู้จักคิด พูด อ่านเขียนได้ดีเกินวัย
วิธีการพัฒนา สมองเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึง อายุ 2 ปี
- วิธีการพัฒนาสมองเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 ปี ในช่วงนี้เด็ก จะได้ยินเสียง เริ่มมองเห็น และมีการเรียนรู้โต้ตอบ ทางอารมณ์ กับพ่อแม่ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการร้องไห้ เมื่อหิว งอแงเมื่อง่วงนอน และในช่วงนี้เด็กจะสามารถ จดจำใบหน้า คุณพ่อ คุณแม่ และญาติๆ ที่อยู่ใกล้ชิดได้ ดั้งนั้นวิธีการ กระตุ้น เพื่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ในช่วงนี้ สามาทำได้ ด้วยการ พูดคุยกับลูก เล่นกับลูกบ่อยๆ ใช้โมบายแขวนให้เด็กดู เป็นการกระตุ้นการมองเห็นของลูก การเปิดเพลงเบาๆ ให้เด็กฟัง ก็เป็นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้เช่นกัน ควรจัดสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็กให้สะอาด โปร่งโล่ง สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน ก็เป็นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้ เมื่อเด็กเริ่มคลาน เด็กจะสนใจของเล่นมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อของเล่นให้เด็กมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เด็กเสียสมาธิได้ เนื่องจาก หากมีของเล่นมากจนเกินไป เด็กอาจจะเลือกไม่ถูกว่าจะเล่นอะไรดี ยิ่งมีของเล่นน้อยชิ้น เด็กก็จะมีสมาธิ จดจ่อกับของเล่นชิ้นนั้นๆ ได้อย่างละเอียด เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีของ การสร้างสมาธิให้กับเด็ก
- วิธีพัฒนาการสมองเด็ก วัย 1 ถึง 2 ปี เด็กในช่วงวัยนี้ กล้ามเนื้อจะมีความแข็งแรงมากขี้น สามารถทรงตัวได้ดี เริ่มจะเดินได้ และเป็นช่วงที่มีประสาทการทำงาน ระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ ได้ดีขึ้น จะเห็นได้จาก การที่เด็กสามารถ รับประทานอาหารเองได้ ดังนั้นวิธีการกระตุ้น เพื่อการพัฒนาสมองเด็ก สามารถทำได้ด้วยการ ฝึกให้เด็กหยิบจับ ของเล่นที่ไม่เป็นอันตราย หรือจะหัดวาดรูป เขียนรูปก็ได้ ที่สำคัญในช่วงนี้ สมองของเด็ก มีความพร้อม ที่จะเริ่มจดจำ ตัวอักษรต่างๆ และเริ่มฟัง มีความเข้าใจ ในภาษาพูดได้หลายๆ ภาษาพร้อมๆ กัน จึงเป็นการดี ที่คุณพ่อ คุณแม่ จะอ่านหนังสือให้ลูกฟังไป พร้อมๆ กับการพูด หรือแสดงออก เป็นทางท่าทาง ต่างๆ สังเกตดูว่า ถ้าเด็กฟังโดยไม่มีท่าทีเบื่อหน่าย แสดงว่าเขามีความสนใจ
จาการศึกษาค้นคว้าวิจัย ทำให้เราทราบว่า เสียงดนตรี นั้นมีประโยชน์ ต่อการพัฒนา ทางด้านจิตใจ ของเด็ก ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากดนตรี จะสร้าง ความเพลิดเพลิน ทำให้เด็ก เกิดความสนใจ มีความสนุกสนาน มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ที่สำคัญยังช่วย ให้เด็กประกอบ กิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ทำให้สามารถ เข้าสังคมได้ดี
อ่านต่อ...