กฎหมายแรงงานเด็ก - กฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน - กิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชน

กฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน

     กฎหมายใหม่ที่มีความสําคัญ สําหรับเด็กและเยาวชน คือ พระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด 180 วัน มีผลบังคับในวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 มีการกําหนดหลักเกณฑ์ การดําเนินกระบวน พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับ เด็กและเยาวชน ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจาก คดีธรรมดาทั่วไป เพื่อสวัสดิภาพของเด็ก และเยาวชน

     คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็ก หรือเยาชนได้กระทำความผิด ให้ถืออายุเด็ก หรือเยาวชนนั้น ในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น โดยได้มีการให้คำนิยาม ของเด็กและเยาวชนไว้ดังนี้

  • “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์
  • “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

     ในการแก้ไขอายุเด็กและเยาวชน ก็เพื่อให้สอดคล้องกับ ประมวลกฎหมายอาญา ประกอบกับ พระราชบัญญัติคุ้มคลองเด็ก พ.ศ.2546 ได้ให้คำนิยามว่า “เด็ก” หมายถึงผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะ โดยการสมรส

     การออกหมายจับเด็กและเยาวชน ให้ศาลคำนึงถึง การคุ้มครองสิทธิเด็ก หรือเยาวชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องอายุ เพศ และอนาคตของ เด็กหรือเยาวชน ที่พึงได้รับการพัฒนา และปกป้องคุ้มครอง การจับกุมและ ควบคุมเด็กและเยาวชน ต้องกระทำโดยละมันละม่อม ห้ามมิให้พนักงานผู้จับกุม หรือพนักงานสอบสวน จัดให้มีหรืออนุญาต ให้มีการถ่ายภาพ หรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่เพื่อประโยชน์ ในการสอบสวน

     กฎหมายใหม่ได้เพิ่มมาตรการพิเศษ แทนการดำเนิน คดีอาญาเข้ามา เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เสียหาย หรือชุมชน มีส่วนร่วม ในการจัดแผน แก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก โดยการจัดทำแผน แก้ไขบำบัดฟื้นฟู ต้องได้รับความยินยอม จากผู้เสียหาย และเด็กหรือเยาวชนด้วย

     การที่เด็กกระทำความผิด อาจเกิดจากบิดามารดา ปล่อยปะละเลย หรือบุคคลอื่น ชักจูงหรือส่งเสริม ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26(3) ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับ ขู่เข็ญ ชัก จูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็ก (บุคคลที่มีอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์) ประพฤติตน ไม่สมควรหรือน่าจะทําให้ เด็กมีความประพฤติเสี่ยง ต่อการกระทําความผิด ผู้ฝ่าฝ่าฝืนต้องรับผิดทางอาญา จําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับ ไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ดังนั้น บิดามารดา หรือบุคคลอื่นใด อาจต้องรับโทษทางอาญา หากฝ่าฝืน กฎหมายโดยยินยอม ให้เด็กกระทําความผิด (แหล่งข้อมูลอ้างอิง : parliament.go.th )

กฎหมายแรงงานเด็ก - กฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน - กิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชน

วิวัฒนาการเกี่ยวกับกฎหมาย

การพิจารณา คดีความของเด็ก ที่กระทำผิด ตามกฎหมาย สามารถพิจารณา ออกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเกณฑ์ อายุต่ำกว่า 7 ปีลงมา จะไม่มีความผิดอาญา หากมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะต้องอยู่ในเกณฑ์ ของศาลคดีเยาวชน และครอบครัวฯ ส่วนการพิจารณา แบบที่สอง คือ เกณฑ์การกระทำผิด จะมีความผิดทางอาญา และเป็นความผิด ของเด็กโดยเฉพาะ

อ่านต่อ...