พัฒนาการทารกในครรภ์ - พัฒนาการ ลูก ใน ท้อง - พัฒนาการ ของ ทารก ใน ครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์

     การปฏิสนธิ จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำเชื้อของเพศชาย ตัวที่แข็งแรงที่สุด ได้ว่ายเข้าไปในท่อนำไข่ และเจาะเข้าไป ผสมกับไข่ของ เพศหญิง จากนั้นก็จะเจริญเติบโต เป็นทารกต่อไป

พัฒนาการทารกในครรภ์

  • วันแรกของการปฏิสนธิ ถึงสัปดาห์ที่ 3 พัฒนาการทารกในครรภ์ ตัวอ่อนจะมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีลักษณะโตมาก และจะงอมาข้างหน้า ทำให้ส่วนหัวและหางจรดกัน ในช่วงนี้จะมี หู ตา จมูกเกิดขึ้น ซึ่งถ้ามองภายนอก จะไม่ค่อยเห็นความผิดปรกติ ของคุณแม่ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ประจำเดือน จะไม่มาตามปรกติ ผู้ที่เป็นแม่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์
  • สัปดาห์ที่ 4-7 จะเห็นได้ว่าลูกมีความยาว ขึ้นประมาณ 4 เซนติเมตร มีลักษณะของ ศีรษะที่ชัดเจนมากขึ้น ส่วนและและ ส่วนที่เป็นขายังสั้นอยู่ ในระยะปลายสัปดาห์ ศีรษะโตขึ้น เพราะเริ่มมีมันสมองมากขึ้น แขนขา จะเจริญมากขึ้น ส่วนจมูก ปาก และหูยังไม่โต ในระยะนี้จะเริ่มมี อวัยวะสืบพันธุ์ ปรากฏขึ้นด้วย คุณแม่จะเริ่มรู้สึกเจ็บ และตึงบริเวณเต้านม และบริเวณรอบๆ หัวนมจะเห็น เส้นเลือดดำเส้นเล็กๆ อีกทั้งหัวนมจะโตขึ้น จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้น เช่น อาเจียน คลื่นไส้ เป็นต้น ในระยะนี้คุณแม่ควร งดออกกำลังกาย อย่างเด็ดขาด และไปฝากครรภ์ ให้หมอตรวจเป็นระยะ
  • สัปดาห์ที่ 8-11 พัฒนาการทารกในครรภ์ ลูกจะมีความยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร ส่วนมือและเท้า แตกต่างกันและมีขลิบ หัวจะมีความโตมากขึ้น อวัยวะสืบพันธุ์ แสดงให้เห็นเพศได้ อย่างชัดเจน ในระยะนี้คุณแม่จะยังคง มีอาการแพ้ท้องอยู่ และมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ควรทำจิตใจให้แจ่มใส อยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์ เช่นในสวนดอกไม้ เพื่อให้ทารกในครรภ์ ได้รับอากาศทีบริสุทธิ์
  • สัปดาห์ที่ 12-15 ลูกจะมีความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 120 กรัม อีกทั้งอวัยวะทุกส่วน ของร่างกายตลอดจนเพศ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเริ่มที่จะมีขนอ่อน ผิวหนังมีลักษณะแดง คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการดิ้นของลูก คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ในช่วงนี้คุณแม่ ต้องไปหาหมอที่ ฝากครรภ์ตามนัด
  • สัปดาห์ที่ 16-19 ลูกจะมีความยาวประมาณ 18-27 เซนติเมตร และมีไข ปกคลุมมากขึ้น อีกทั้งยังมีผมขึ้นทั่วศีรษะ ในช่วงนี้รูปร่างของคุณแม่ จะแสดงให้เห็นว่ามีครรภ์ ชัดเจนมากขึ้น น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 5-7 กิโลกรัม หรือ 50-60% ของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ในระหว่างการตั้งครรภ์ ในระยะนี้ คุณแม่ต้องกินอาหาร ที่มีประโยชน์ ให้มากขึ้นเพราะทารกจะเริ่ม กินอาหาร จากคุณแม่ทางรก ที่สำคัญคุณแม่ควรพักผ่อน ให้มากเปิดเพลงเบาๆ ฟังเพื่อให้ ทารกในครรภ์มีสุขภาพจิตที่ดี
  • สัปดาห์ที่ 20-23 ลูกจะมีความยาวประมาณ 28-34 เซนติเมตร และมีขน ปกคลุมทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะขนตา ขนคิ้ว ที่มีความเด่นชัดขึ้น และดิ้นแรงขึ้น ในช่วงนี้คุณแม่ จะมีน้ำหนัก เพิ่มมากขึ้นถึง สัปดาห์ละ ? กิโลกรัม และมีหน้าอก ที่ใหญ่ขึ้นหัวนมจะดำขึ้น คุณแม่ไม่ควรคิดมาก ควรทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
  • สัปดาห์ที่ 24-27 ลูกจะมีความยาวประมาณ 35-38 เซนติเมตร และผิวหนังจะ ถูกปกคลุม ด้วยไขทั่วร่างกาย ทารกที่เป็นเพศชายอัณฑะ จะเลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะ แขนขาเริ่มเคลื่อนไหว บางครั้งอาจได้ยินเสียงร้องค่อยๆ ของทารก จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และในช่วงนี้คุณแม่ จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว เพราะท้องจะมีการขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นคุณแม่ ควรจะนอนในท่าตะแคง
  • สัปดาห์ที่ 28-31 ผิวหนังของทารก จะมีลักษณะแดงเหี่ยวย่น เหมือนคนแก่ช่วงนี้ ลูกจะมีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 2000 กรัม ที่สำคัญทารก สามารถเคลื่อนไหวไปรอบๆ ได้ สำหรับคุณแม่ ที่ยังไม่ได้จัดเตรียม อุปกรณ์สำหรับเด็กไว้ ก็ควรจะหาเตรียมได้แล้ว เพราะอีกไม่กี่เดือน ลูกน้อยก็จะ ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว
  • สัปดาห์ที่ 32-35 พัฒนาการทารกในครรภ์ ลูกจะมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2500 กรัม และมีร่างกาย ที่อ้วนขึ้นเนื่องจาก มีไขมันใต้หนังมากขึ้น จึงทำให้ ผิวหนังที่เหี่ยวย่น กลับมาเต่งตึง เรียกได้ว่าช่วงนี้ เป็นช่วงที่ร่างกาย ของทารกทุกส่วน เกือบมีความบูรณ์แล้ว เพราะทารกอยู่ในครรภ์ครบ 9 เดือนแล้ว จึงทำให้น้ำหนักคุณแม่ เริ่มคงที่ แต่สำหรับทารกแล้ว มีความเจริญเติบโต เร็วมาก ถ้าหากคุณแม่ยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ให้พยายามลด อาหารจำพวกแป้งลง และควรพักผ่อนให้มาก ถ้าเป็นไปได้ควรให้สามี ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะในช่วงนี้ คุณแม่อาจจะ มีการเจ็บท้องคลอด อย่างฉับพลันได้
  • สัปดาห์ที่ 36-39 ลูกจะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 2500 กรัม ผิวหนังสีชมพู ร้องเสียงดัง ทันที่ที่คลอด ออกมาลืมตาดูโลก จะร้อง และลืมตายกแขนยกขาไปมา ช่วงนี้คุณแม่จะมี น้ำหนักลดลงเล็กน้อย เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ใกล้ถึงเวลาคลอดแล้ว พยายามทำอารมณ์ ให้สดชื่นแจ่มใส เตรียมความพร้อมที่จะไป โรงพยาบาลทันที่ ที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด
พัฒนาการทารกในครรภ์ - พัฒนาการ ลูก ใน ท้อง - พัฒนาการ ของ ทารก ใน ครรภ์

อาการแพ้ท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร

ผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์นั้น ระดับฮอร์โมนที่เรียกว่า “HCG” (Human Chorionic Gonadotropin) จะเพิ่มสูงมากขึ้น บวกกับการที่สภาพการเปลี่ยนแปลง ทำให้สภาพอารมณ์ไม่ปรกติ อีกทั้งประสาทรับกลิ่นมีความไวกว่าคนปรกติทั่วไปมาก จึงทำให้คุณผู้หญิงมีความวิตกกังวล และมีความเครียดไม่น้อย ที่เป็นเหตุให้เกิด อาการแพ้ท้อง ขึ้นได้

อ่านต่อ...